
ขณะการทำงานย่อมต้องเจอกับความขัดแย้งในที่ทำงาน เมื่อต่างคนต่างที่มา ความคิดเห็นย่อมต่างกัน จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะเกิดความขัดแย้งขึ้น แต่ความขัดแย้งในที่ทำงานไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัว เพราะบางความขัดแย้งอาจก่อให้เกิดผลดี ดังนั้นบทความนี้จะมาบอกกลยุทธ์การรับมือและการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในที่ทำงาน ไปดูกันเลย คนขั้นเทพ
6 กลยุทธ์แก้ไขปัญหาและรับมือความขัดแย้งในที่ทำงาน

1. อ้าแขนรับปัญหากับการเจรจาด้วยเหตุผล
หากเกิดปัญหาขึ้นอย่าหนีปัญหาหรือทำเฉย เพื่อให้เรื่องจบ ๆ ไป เพราะจะทำให้เหตุการณ์เลวร้ายลงไปกว่าเดิม ดังนั้นการเผชิญหน้ากันในช่วงเวลาที่เกิดปัญหาขึ้นคือ เวลาที่เหมาะ เพียงแต่ต้องเลือกช่วงเวลาที่ควร ที่คู่กรณีทั้งสองฝ่ายจะเจรจา เพื่อหาข้อยุติด้วยเหตุผลไม่ใช่อารมณ์
2. หันหน้าคุยกันกับการเลี่ยงคำพูดรุนแรง
การหาสาเหตุของความขัดแย้งในที่ทำงานให้เจอ เปลี่ยนวิธีพูด วิธีถาม และหลีกเลี่ยงคำพูดรุนแรงที่กระตุ้นให้เกิดอารมณ์จนนำไปสู่การโต้แย้ง ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการเจรจารวมไปถึงลองนั่งลงคุยกันดี ๆ เพราะการนั่งคุยกันจะช่วยลดการใช้ภาษากาย หรืออารมณ์โกรธจากการโต้แย้งได้

3. ฟังอย่างตั้งใจกับการป้องกันตีความผิด
การไม่รับฟังกันอย่างจริงใจคือ สาเหตุสำคัญที่ทำให้ปัญหาความขัดแย้งในที่ทำงานลุกลาม ดังนั้นลองฟังคำตอบจากอีกฝ่ายบ้าง เพราะอาจจะทำให้ค้นพบสาเหตุของความขัดแย้งว่าอาจมาจากการตีความที่ผิดพลาด หรือการรับรู้ข้อมูลที่ต่างกันมาก็ได้ และตระหนักให้ดีว่าในการทำงานกับคนส่วนรวมนั้นต้องอาศัยความช่วยเหลือซึ่งกันจึงจะทำให้งานสำเร็จไปได้
4. หาข้อตกลงกับการยึดงานเป็นที่ตั้ง
เมื่อบอกสาเหตุที่ไม่เห็นด้วยให้อีกฝ่ายได้รับรู้อย่างชัดเจน การทำข้อตกลงออกมาในรูปของสัญญาแล้วให้แต่ละฝ่ายนำข้อตกลงไปปฏิบัติ เพื่อตรวจสอบว่าเป็นไปตามที่ระบุไว้หรือไม่ อาจมีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือหารือร่วมกันแก้ปัญหาใหม่อีกครั้ง เพื่อปรับปรุงข้อตกลงให้เป็นที่พอใจของทุกฝ่าย

5. หาคนกลางกับการไกล่เกลี่ยปัญหา
คนกลางช่วยไกล่เกลี่ยความขัดแย้งในที่ทำงานนับเป็นทางออกอีกที่ดี คนกลางจะทำหน้าที่ในการอำนวยความสะดวกให้ทั้งสองฝ่าย ช่วยกำหนด วิเคราะห์และสร้างความเข้าใจในความจริงที่เกิดขึ้นทั้งหมด โดยรับฟังเงื่อนไขของปัญหาเพื่อนำไปสู่การสร้างความปรองดอง โดยไม่เอนเอียงเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
6. ขอโทษให้เป็นกับการอภัยให้เร็ว
การขอโทษกับวามผิดพลาดเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้กับคนทุกคน หากรู้ตัวแล้วก็จงกล่าวคำขอโทษให้เป็นด้วยความจริงใจ เพราะการกล่าวคำขอโทษไม่ใช่เรื่องที่น่าละอาย แต่เป็นการแสดงความกล้าหาญที่น่ายกย่องต่างหาก และการให้อภัย เป็นการแสดงน้ำใจที่น่านับถือที่สุดคือ การรู้จักให้อภัยผู้อื่น เปิดโอกาสให้อีกฝ่ายได้แก้ไขสิ่งที่ผิดพลาด เพื่อที่ทั้งสองฝ่ายที่เคยเกิดปัญหาจะได้กลับมาทำงานร่วมกันได้อย่างสบายใจ และพร้อมเดินไปข้างหน้าด้วยกัน
ผู้สนับสนุนบทความในครั้งนี้ ล็อตโต้สด