
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือ การมีความสามารถและความชำนาญในการคิด เพื่อค้นหาความรู้ และการแก้ไขปัญหา ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และสรุปผลข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และแม่นยำ บทความนี้จะนำเสนอ มาดูกันเลยว่ามีอะไรบ้าง คนขั้นเทพ
ความสำคัญของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์คืออะไร
เป็นทักษะสำคัญที่แสดงถึงการมีกระบวนการคิด มีเหตุ มีผลตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทำให้ผู้เรียน และผู้ปฏิบัติเกิดความเข้าใจในเนื้อหาทางวิทยาศาสตร์ สามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองไปสู่กระบวนการคิดที่ซับซ้อนมากขึ้น
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มีอะไรบ้าง

1. ทักษะการสังเกต เป็นการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ การมอง การได้ยิน การรับรส การฟัง และการดม อาจใช้เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างร่วมกัน เพื่อให้ทราบและรับรู้ข้อมูลรายละเอียด
2. ทักษะการวัด เป็นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์การเลือกใช้เครื่องมือในการวัดปริมาณต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม พร้อมทั้งระบุหน่วยของการวัดได้รวมถึงเข้าใจวิธีการวัด และแสดงขั้นตอนการวัดได้อย่างถูกต้อง
3. ทักษะการจำแนก เป็นการแบ่งกลุ่มหรือการเรียงลำดับสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ด้วยเกณฑ์ความแตกต่างหรือความสัมพันธ์ใด ๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง
4. ทักษะการใช้จำนวน เป็นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์การใช้ความรู้เกี่ยวกับการนับจำนวนของวัตถุ การนำตัวเลขที่ได้จากนับและตัวเลขจากการวัดมาคำนวณด้วยสูตรคณิตศาสตร์ บวก ลบ คูณ หาร เป็นต้น เพื่อระบุรายละเอียดเชิงปริมาณของสิ่งที่ต้องการสังเกตหรือทดลองได้

5. ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา คือ พื้นที่ว่างที่วัตถุนั้นครอบครองอยู่ เช่น ตำแหน่ง ขนาด รูปร่าง รูปทรง หรือทิศทางการเคลื่อนที่ของวัตถุเมื่อเวลาเปลี่ยนไป โดยมีความสัมพันธ์กัน คือ ความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสของวัตถุ ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่าง 3 มิติ กับ 2 มิติ ความสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่งที่อยู่ของวัตถุหนึ่งกับวัตถุหนึ่ง และความสัมพันธ์ระหว่างสเปสของวัตถุกับเวลา ได้แก่ ความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของวัตถุกับช่วงเวลา หรือความสัมพันธ์ของสเปสของวัตถุที่เปลี่ยนไปกับช่วงเวลา
6. ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล เป็นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์การนำข้อมูลที่ได้จากวิธีการต่าง ๆ มาจัดทำให้อยู่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อสื่อสารให้เข้าใจความหมายได้ง่ายขึ้น
7. ทักษะการลงความคิดเห็นข้อมูล เป็นการเพิ่มความคิดเห็นของตนต่อข้อมูลที่ได้ จากการสังเกตอย่างมีเหตุผลจากพื้นฐานความรู้ หรือประสบการณ์ที่มี
8. ทักษะการพยากรณ์ เป็นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยการนำข้อมูลจากประสบการณ์เดิมของตนเองในเรื่องนั้น ๆ มาช่วยในการคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้น
9. ทักษะการตั้งสมมติฐาน เป็นการทำนายหรือการคาดคะเนคำตอบ โดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากการสังเกตหรือการทำซ้ำ ผ่านกระบวนการแปรความหายของข้อมูลจากสัมพันธ์
10. ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ เป็นการกำหนดอธิบายความหมาย และขอบเขตของคำต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา หรือการทดลองเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันระหว่างบุคคล

11. ทักษะการกำหนด และควบคุมตัวแปร เป็นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์การบ่งชี้และการกำหนดตัวแปรต้น ตัวแปรตามและตัวแปรควบคุมให้คงที่ เพื่อให้สอดคล้องกับสมมติฐานการทดลอง
12. ทักษะการทดลอง เป็นปฏิบัติและทำซ้ำในขั้นตอน เพื่อหาคำตอบจากสมมติฐาน 3 ขั้นตอน คือ การออกแบบการทดลอง การปฏิบัติการทดลอง และการบันทึกผลการทดลอง
13. ทักษะการตีความหมายข้อมูลและการลงข้อสรุป เป็นการแปลความหมายข้อมูลหรือบรรยายลักษณะของข้อมูลที่มีอยู่ และสามารถสรุปความสัมพันธ์ของข้อมูลทั้งหมดได้ การตีความหมายข้อมูลในบางครั้งอาจต้องใช้ทักษะอื่น ๆ เช่น ทักษะการสังเกต ทักษะการคำนวณ14. ทักษะการสร้างแบบจำลอง เป็นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สร้างและใช้สิ่งที่ทำขึ้นมา เพื่อเลียนแบบหรืออธิบายสิ่งที่ต้องการศึกษา แล้วนำเสนอข้อมูลหรือแนวคิดในรูปแบบจำลองต่าง ๆ เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจความหมายได้ง่ายขึ้น
ขอบคุณผู้สนับสนุน ล็อตโต้สด