
เมื่อเราเจอเพื่อนร่วมงานขี้บ่นจะมีวิธีไหนใช้ในการรับมือเป็นการตัดบทไม่ให้ช้ำใจ แน่นอนว่าโลกของการทำงานเราจะต้องเจอหลากหลายรูปแบบ ดังนั้นเมื่อเราเจอเพื่อนร่วมงานขี้บ่นตลอดเวลาเราก็คงไม่ไหว มาดูวิธีรับมือกันเลย คนขั้นเทพ
มารับมือกับเพื่อนร่วมงานขี้บ่นกันเถอะ
1. การให้โอกาสปรับตัว

เมื่อพฤติกรรมความขี้บ่นของเพื่อนร่วมงานสร้างปัญหามากเกินไป ก็ถึงเวลาที่จะต้องคุยตักเตือน เริ่มจากการให้คำแนะนำและปรับเปลี่ยนทัศนคติ ว่าการพร่ำบ่นนั้นทำลายบรรยากาศการทำงาน สร้างปัญหาให้กับเพื่อนร่วมงานคนอื่น ยังส่งถึงภาพลักษณ์ขององค์กรนั้น ๆ ด้วย
2. การออกมาตรการเด็ดขาด

เมื่อให้โอกาสปรับตัวแล้ว แต่พฤติกรรมเพื่อนร่วมงานขี้บ่น ขี้นินทายังไม่เปลี่ยนก็ต้องใช้มาตรการหนักในการจัดการ ข้อนี้ต้องให้หัวหน้างานและฝ่ายบุคคลจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในขั้นตอนนี้ ร่วมกันกำหนดแนวทางเพื่อให้พนักงานปรับปรุงตัว มีเอกสารให้ลงนามกับการปรับเปลี่ยนประพฤติใหม่ เช่น ให้เวลา 1 เดือนในการปรับปรุงตัว เมื่อครบกำหนดแล้วหัวหน้างานและเพื่อนร่วมงานยังเห็นว่าพฤติกรรมไม่เปลี่ยนแปลง จะมีบทลงโทษตามมา เช่น การหักเงินเดือน ปรับลดเงินโบนัส เป็นต้น
3. หากไม่ไหวก็ต้องปล่อยไป

เพราะเพื่อนร่วมงานจอขี้บ่นจะมีความสามารถเรื่องงานมากเพียงใด หากพฤติกรรมนั้นยังทำให้เพื่อนร่วมงานไม่สามารถทำงานร่วมด้วยได้ องค์กรก็อาจไม่เลือกที่จะเก็บไว้ในที่สุด เมื่อได้ให้โอกาสอย่างถึงที่สุดแล้ว ขั้นตอนสุดท้ายหากไม่สามารถปรับปรุงตัวได้ องค์กรมีสิทธิ์ที่จะเชิญพนักงานออก เพื่อไม่ให้บ่อนทำลายองค์กร
4. การกำหนดนโยบายองค์กรที่รัดกุม

เพื่อนร่วมงานขี้บ่น จอมตินั้นตินี่ไปเรื่อย งานเยอะก็บ่น งานน้อยก็บ่น มีอยู่ในทุกองค์กร วิธีทางแก้ปัญหาที่ทำได้ต้องมาจากองค์กร ในการกำหนดนโยบายการทำงานที่ชัดเจน ตลอดจนจัดสถานที่ทำงานให้ปลอดการพูดสิ่งไม่สร้างสรรค์ สร้างองค์กรที่เมื่อพักเบรกจากเวลางาน จะคุยแต่เรื่องราวที่มีสาระ
5. การจับตาดูพฤติกรรมและหลีกเลี่ยงให้ตนเองออกจากที่นั้น

เมื่อเราเจอเพื่อนร่วมงานขี้บ่น เราพิจารณาว่าเพื่อนกำลังตั้งท่าจะบ่น จากนั้นเราควรหาข้ออ้างให้เนียนสักนิด เช่น ลืมไปว่าต้องส่งงานให้หัวหน้าตอนสิบโมง แล้วรีบขอตัว อีกวิธีที่เป็นการแก้ปัญหาในระยะยาวคืออย่าปล่อยให้มนุษย์ช่างบ่น ช่างติหลุดพ้นจากสายตา เพราะอาจสร้างอันตรายให้กับเพื่อนร่วมงานและองค์กรได้ สิ่งที่เราจะทำได้คือคอยติดตามพฤติกรรมอย่างใกล้ชิด โดยการให้เขามีส่วนร่วมกับโครงการที่ทำอยู่เสมอ หัวหน้างานเองก็ไม่ควรปล่อยละเลย
สำหรับเพื่อนร่วมงานเช่นนี้จะมีแทบจะทุกองค์กรทางที่ดีเราควรเปิดใจให้กว้าง โฟกัสที่เนื้องาน อย่าเอาคำพูดมาบ่อนทำลาย เมื่อไหร่ที่เรารู้สึกว่าไม่ไหวแล้วกับเพื่อนร่วมงานแบบนี้ อยากหางานใหม่ที่สภาพแวดล้อมดีกว่านี้ ค่อยพิจารณาตามลำดับต่อมา

ขอบคุณผู้สนับสนุน ล็อตโต้สด