
การเผชิญภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่ทุกคนได้เผชิญอยู่ในปัจจุบัน ดังนั้นบทความนี้จะมาให้ข้อมูลและรู้จักกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยให้มากขึ้น และเรานั้นจะมีการรับมือได้อย่างไร ไม่ต้องรอช้าอีกต่อไป มาดูกลยุทธ์การรับมือกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยกันเถอะ คนขั้นเทพ
ภาวะเศรษฐกิจถดถอยคืออะไร
คือภาวะเศรษฐกิจเมื่อ GDP อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศติดลบ 2 ไตรมาสติดต่อกัน หรือในบางครั้ง GDP อาจไม่ได้ติดลบติดต่อกัน แต่เกิดการลดลงอย่างรุนแรง ขยายเป็นวงกว้าง และกินระยะเวลายาวนานระดับหนึ่ง ดังนั้นการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจที่ช้า กิจกรรมทางเศรษฐกิจลดลงทั้งในด้านการผลิตและใช้จ่าย รวมถึงการลงทุน ส่งผลให้การจ้างงานน้อยลง อัตราคนว่างงานมากขึ้น สถานการณ์เหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของภาวะเศรษฐกิจถดถอย ในบางครั้งภาวะดังกล่าวอาจถูกนิยามว่าเป็นช่วงเวลาหนึ่งของเงินเฟ้อมารวมกับการถดถอยของ GDP

สัญญาณบ่งบอกว่าจะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย
1. มี GDP ต่ำลง
2. มีรายได้ที่แท้จริงต่ำลง
3. มีอัตราว่างงานมากขึ้น
4. มีภาคการผลิตและการขายซบเซา
5. มีผู้บริโภคจับจ่ายน้อยลง
ตัวอย่างที่ทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย
1. เศรษฐกิจเติบโตร้อนแรงเกินไป (Overheated Economy)
2. การเกิดฟองสบู่ในตลาดสินทรัพย์ (Asset Bubbles) เป็นปรากฏการณ์ที่ข้อมูลการปรับตัวสูงขึ้นของสินทรัพย์ทำให้นักลงทุนรู้สึกมั่นใจ และคิดว่าราคาของสินทรัพย์จะปรับสูงขึ้นในอนาคต ทำให้ราคาของสินทรัพย์นั้น ๆ สูงกว่ามูลค่าที่แท้จริงของมันจนเกิดเป็นฟองสบู่
3. เกิดการช็อกในตลาด (Market Shocks) อาจเกิดจากข่าวร้าย ข่าวปลอมหรือเหตุการณ์ไม่คาดฝันบางอย่าง

ผลกระทบเมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย
1. มีการจ้างงานต่ำลง เกิดอัตราว่างงานที่สูงขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มแรงงานไร้ฝีมือ
2. มีความเครียด เกิดความวิตกกังวลจากปัญหาทางด้านการเงินและการงาน นำไปสู่ปัญหาอื่น ๆ ได้ เช่น ความสัมพันธ์ ครอบครัว
3. มีการใช้ชีวิตที่อาจต้องเปลี่ยนแปลงไปตามกำลังทรัพย์ที่มี
4. มีโอกาสทางธุรกิจที่น้อยลง โดยอาจขาดเงินทุน ขาดความเชื่อมั่นในการประกอบธุรกิจและการรับความเสี่ยง
5. มีเกิดหนี้สินครัวเรือนจากการขาดสภาพคล่องทางการเงินและการขาดรายได้

กลยุทธ์การรับมือกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างไรดี
1. เงินสำรองฉุกเฉิน อย่างน้อยต้องมีเงินสดสำรองเอาไว้เพียงพอค่าใช้จ่าย 6 เดือนขึ้นไป
2. ทำงบการเงิน รายรับ รายจ่าย การทำงบการเงินเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนการเงินเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังช่วยให้เรารู้ความเสี่ยงที่เราสามารถรับได้และช่วยให้เรารู้สถานะการเงินของเราอีกด้วย
3. เคลียร์หนี้สิน การจัดการปัญหานี้อาจจะเป็นเรื่องที่ยากพอสมควร ดังนั้นพยายามทำจัดการให้ได้ดีที่สุด
4. การมีรายได้จากหลายทาง วิธีนี้จะช่วยกระจายความเสี่ยงหากเราเกิดตกงาน เราก็ยังคงมีแหล่งรายได้ซึ่งเปรียบเสมือนสายน้ำอื่น ๆ ที่คอยหล่อเลี้ยงชีวิตเราให้พออยู่ต่อไปได้
ขอบคุณบทความจาก ล็อตโต้สด